ม.ล.เนื่อง นิลรัตน์ กล่าวว่า ผู้ได้ชื่อว่า ''ทำกับข้าวเป็น'' จะต้องมาจากการฝึกทำบ่อยๆ รู้จักปรับรสชาติที่ไม่เข้าที่เข้าทางให้กลมกล่อมตามสูตรดั้งเดิม ยิ่งไปกว่านั้น เสน่ห์ปลายจวักยังอยู่ที่การคาดคะเนเป็น เพราะพริก หอม กระเทียม เครื่องปรุงต่างๆ นั้นก็มีขนาดเล็ก-ใหญ่ ไม่เท่ากัน กับข้าวในวังก็เหมือนกับที่กินกันทั่วไป แต่อร่อยที่การปรุงรส อาหารทุกอย่างมีขั้นตอนที่คนปรุงต้องเรียนรู้และฝึกฝน





M.L. Nueang Nilrat is a person who defines the term "good cooking" or in other words is "a person who really knows how to cook" this consists of practicing often and learning how to add flavours according to traditional recipes. Moreover, the charm of cooking is being able to estimate the various sizes of ingredients, such as chillies to onion and garlic that gives different degrees of taste. Royal cuisine does not distinguish itself from general Thai cuisine but for the differences in the amounts of ingredients added this gives Royal cuisine its distinct flavours. All the kinds of food that we cook have their own unique methods that depend on the cooks know how.



Sunday, June 12, 2011

งานเขียนชิ้นแรก ๘

ม.ล.เนื่อง นิลรัตน์

ม.ล.เนื่อง นิลรัตน์ และเพื่อน

          วันเวลาผ่านไปต่างก็โตเป็นสาวขึ้นตามลำดับ ชักจะเห็นว่าการซุกซนภายในเขตรั้วตำหนักพระวิมาดาไม่สนุกเสียแล้ว จืดชืดซ้ำซากเลยชวนกันหนีเที่ยวไปหาเพื่อนฝูงต่างตำหนัก เช่น ตำหนักเสด็จพระองค์เหมวดี ตำหนักเสด็จพระองค์อาทรทิพยอาภา ตำหนักเสด็จพระองค์อภันตรีประชา เสด็จพระองค์ทิพยาลังการและไปสวนหงส์ ตำหนักทูลกระหม่อมหญิงวลัยอลงกรณ์ เสด็จพระองค์เยาวภาพงศ์สนิท พวกเราจำเป็นต้องหนีออกไปตอน ๕ ทุ่มไปแล้ว พวกข้าหลวงคอยเสวยเสร็จลงจากบนตำหนัก แล้วต้องมาคอยเอาตัวข้าพเจ้า ซึ่งต้องเหยียบท่านย่าทุกคืนประจำ กว่าจะเลิกเหยียบก็ ๔ ทุ่มกว่า พอท่านย่าหลับก็แอบไปรวมกับเพื่อนๆ ที่มาคอย มี ๖ คนด้วยกัน มี ม.ร.ว. อาไทย ลดาวัลย์ ม.ร.ว. วัฒนพันธ์ ชมพูนุช ม.ร.ว. วงศ์สินธุ์ สิงหรา ม.ร.ว. ศรีคำ ทองแถม น.ส. สุดา บูรณศิริ และข้าพเจ้า ย่องปีนรั้วออกไปทางหลังเขาดิน เป็นรั้วไม้ตีโปร่ง ทาสีฟ้าปีนง่ายมาก คืนหนึ่งก็ไปตำหนักเดียวแล้วหมุนเวียนกับไปจนทั่วทุกตำหนักที่รู้จักกัน พวกเขารู้ว่าพวกเราไป เขาก็จะออกมากันหลายๆ คน มานั่งรวมกลุ่มคุยกันที่ท่าน้ำหน้าตำหนัก พอเห็นพวกโขลนออกเดินตรวจ (โขลน คือผู้หญิงนุ่งน้ำเงินใส่เสื้อขาว ออกเดินตรวจตามถนนในวังตลอดทุกยามจนเช้า) มาแต่ไกล ๒ คน พวกเราต่างลุกหนีกันจ้าละหวั่น พวกข้าหลวงเสด็จเขาก็วิ่งเข้าตำหนักไป พวกเราอยู่ไกลวิ่งหนีกันสุดฝีเท้า ม.ร.ว. วัฒนพันธ์ ขาสั้นตัวเตี้ย วิ่งช้าไม่ทันพวก ความที่กลัวพวกโขลนจะจำได้ ถลกผ้าถุงที่นุ่งขึ้นมาม้วนพันไว้รอบเอว เหลือแต่กางเกงในวิ่งแจ้น โขลนวิ่งไล่มาไม่ทัน พวกเรา ๖ คน ปีนรั้วไม้โปร่งหายเข้ามาภายในหมด นึกว่าเรื่องจะจบแค่นั้น ที่ไหนได้ตอนสายวันรุ่งขึ้น โขลนเข้าเฝ้าทูลฟ้องว่าข้าหลวงที่ตำหนักนี้หนีเที่ยวเมื่อคืนไล่จับไม่ทัน เห็นชัดคนเดียวนุ่งกางเกงขาสั้นสีขาว เมื่อทรงสอบสวนดูทุกคนแล้ว ข้าหลวงไม่มีใครนุ่งกางเกง เรื่องก็เลยเงียบไปโดยหาตัวลงโทษไม่ได้ แต่พวกเราก็ไม่เข็ด คราวต่อไปเรารีบกลับก่อนโขลนออกตรวจตอน ๒ ยาม
          น่าเห็นใจชีวิตที่ถูกขังอยู่ในวัง ไกลพ่อไกลแม่ ไปไหนก็ไม่ได้ไป เล่นอะไรก็ไม่ได้ถูกห้ามไปทุกอย่าง สมัยนั้นวิทยุก็ยังไม่มีฟัง โทรทัศน์ก็ยังไม่มีดู ออกจากประตูวังไปไหนก็ไม่ได้ เหมือนนกติดกรงขัง ร้องเพลงเล่นกันดังก็ไม่ได้ต้องกระซิบร้องกันเบาๆ เด็กมันไม่มีทางออกหาความเพลิดเพลิน ก็เลยซุกซนขโมยโน่นนี่ไปตามเรื่อง
          ครั้งหนึ่งในเดือน ๑๒ น้ำเต็มฝั่ง ที่ข้าง ร.ร. นิภาคาร ซึ่งพวกเรากำลังเรียนอยู่ มีโรงเก็บเรืออยู่ใกล้ๆ มีเรือเล็กๆ กำลังน่าเล่นลอยอยู่ ๓-๔ ลำ หยุดพักเที่ยงทานอาหารแล้วก็พากันมานั่งเล่นในโรงเรือ เห็นเรือถูกล่ามโซ่ใส่กุญแจไว้ทุกลำ แรกก็ลงไปนั่งในเรือโยกโคลงเล่นเฉยๆ ต่อมาความสนุกแค่นั้นไม่พอ จึงถาม ม.ร.ว. สรัท สุประดิษฐ์ ว่า "รู้ไหมใครเก็บกุญแจเรือ" คุณสรัทไม่พูด คุณหญิงศรีคำตอบแทนว่า หม่อมเขียน แม่เขานั่นแหละเป็นคนเก็บ พี่เนื่องบังคับให้เขาไปหยิบมาซี เธอกำความลับคุณสรัทเขาไว้ไม่ใช่รึ เขากลัวเธอเขาต้องไปเอามา

No comments: